Gen Y กดเลิฟ แค่บริหารตาม 3 ขั้นตอนแบบชิวๆ

  • 23 พ.ค. 2566
  • 3172
หางาน,สมัครงาน,งาน,Gen Y กดเลิฟ แค่บริหารตาม 3 ขั้นตอนแบบชิวๆ

ปัจจุบัน Gen Y  เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น องค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนให้กลุ่มพนักงานที่อยู่มาก่อนแต่แตกต่างจาก Gen Y อย่างสุดขั้ว อย่าง Gen B หรือ Baby Boomer ให้สามารถร่วมงานกันได้อย่างราบรื่น เพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กรต่อไป ซึ่งเทคนิคการบริหารก็มี 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้

 

 

1.เข้าใจ

Gen B เกิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ซึ่งประเทศต้องเร่งฟื้นฟูแต่ขาดแรงงาน จึงมีค่านิยมที่ให้มีลูกเยอะๆ เพื่อสร้างแรงงานขึ้นมาพัฒนาประเทศ เป็นกลุ่มที่เคารพกฎเกณฑ์ มีความอดทนสูง พยายามคิดและทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นเจ้าคนนายคน

Gen Y เกิดในยุคที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต พ่อแม่จึงประสบความสำเร็จและสามารถดูแลคนกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี จึงมักจะถูกตามใจตั้งแต่เด็ก มีการศึกษาดี รับเอาความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ชอบถูกบังคับให้อยู่ในกรอบ คนกลุ่มนี้เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน หวังทำงานที่เงินเดือนสูงแต่ไม่อยากไต่เต้าจากข้างล่าง และหลังเลิกงานอาจไปทำกิจกรรมอื่นเพื่อสร้างความสุขให้กับตัวเอง จะไม่ค่อยหมกมุ่นอยู่กับงานเหมือนคนรุ่นก่อน

 

 

2.ปรับเปลี่ยนให้สมดุล

จากพฤติกรรมของทั้ง 2 กลุ่มที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ได้รับมา ตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรส่วนใหญ่ อาจจะเป็นเรื่องของความตรงต่อเวลา ซึ่ง Gen B ที่อยู่ในระดับหัวหน้าจะให้ความสำคัญมากกว่าและเมื่อ Gen Y มาทำงานสายอาจเกิดความไม่พอใจ เพราะมองว่าส่งผลให้ได้งานที่ล่าช้าและไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร จึงมีการลงโทษด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การหักเงินเดือน จึงทำให้ Gen Y ลาออกจากงานไปในที่สุด ซึ่งถ้าบุคคลนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถ องค์กรก็จะเสียโอกาสในการก้าวหน้าไประดับหนึ่งโดยไม่รู้ตัวเลยก็ว่าได้

แต่การแก้ปัญญานี้ องค์กรก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนที่สามารถสร้างความพอใจให้กับทั้ง 2 กลุ่มได้อย่างสมดุล เช่น เปลี่ยนเวลาการเข้างานที่ยืดหยุ่นต่อความสะดวกของพนักงานมากขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่างานต้องเสร็จตามเวลาและมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ก็ต้องยอมรับการลงโทษตามกฎระเบียบขององค์กร Gen B ก็จะมั่นใจในผลลัพธ์ของงานจาก Gen Y ได้มากขึ้น และ Gen Y ก็จะมีอิสระตามที่ต้องการ ในขณะเดียวกันก็จะมีความตั้งใจทำงานมากยิ่งขึ้น เพราะไม่อยากโดนลงโทษ แต่ถ้าต้องโดนก็จะยอมรับได้มากกว่า เพราะเป็นการลงโทษที่มาจากการกระทำของตัวเอง

 

 

3.ประเมินผลและปรับปรุง

ส่วนใหญ่แล้วหลักการประเมินผลการทำงานของพนักงานจะวัดจากค่า KPI หรือ Key Performance Indicator  ซึ่งหมายถึง ตัวชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงานที่องค์กรจะต้องแสดงให้เห็นรายละเอียดในความสำเร็จหรือล้มเหลวของงานนั้นๆ โดยแยกเป็น

Key  คือ เป้าหมายหลัก

Performance คือ ประสิทธิภาพ

Indicator คือ ตัวชี้วัด

เช่น เมื่อองค์กรยืดหยุ่นเวลาการเข้างาน พนักงาน A ได้รับมอบหมายให้ออกแบบโปสเตอร์โฆษณาของลูกค้ารายใหญ่ โดยจะต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลา 1 เดือน และต้องได้งานที่มีคุณภาพสูงตามที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ลูกค้าจ่ายเงินในราคาเต็ม ซึ่งหากพนักงาน A ไม่สามารถทำได้ จะไม่ได้รับโบนัสประจำปี

วิธีวัดผล

Key: โบนัสประจำปี

Performance:  ผลงานเสร็จภายใน 1 เดือน

Indicator:  ลูกค้าพอใจและจ่ายเงินในราคาเต็ม

 

หากผลลัพธ์ที่ออกมาไม่เป็นไปตามที่องค์กรต้องการ องค์กรก็ต้องปรับปรุงโดยการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหานั้นให้ได้พร้อมกับประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนอกจากจะได้ผลงานที่มีคุณภาพมากขึ้นแล้ว ยังมีพนักงานที่มีความสามารถอย่าง Gen Y ที่จะเพิ่มโอกาสให้องค์กรก้าวหน้าต่อไปด้วยความแข็งแกร่งมากขึ้นอีกด้วย

 

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top